นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเป็นต้นมา ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์
ไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาด้านการแปรรูปท่อสำหรับระบบปรับอากาศ
เราได้รับคำชื่นชมอย่างสูงจากลูกค้าเสมอมาสำหรับความสามารถในการปรับกระบวนการของเราให้เหมาะสมกับการติดตั้งระบบปรับอากาศหลากหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ขนาดสำหรับที่พักอาศัยไปจนถึงสำหรับการพาณิชย์
และตั้งแต่การผลิตเป็นจำนวนมากไปจนถึงการผลิตในปริมาณไม่มากและมีความหลากหลายสูง
ในปัจจุบัน มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ
ออกสู่ตลาดเพื่อการพักอาศัยในอัตราที่รวดเร็วมาก
และระบบเพื่อการพาณิชย์ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ
รวมถึงห้องคอมพิวเตอร์ อาคารอัจฉริยะ ห้องปฏิบัติการวิจัย
และโรงงานระบบอัตโนมัติ เป็นต้น
ความต้องการด้านระบบปรับอากาศเริ่มมีความซับซ้อนและหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามเวลาที่ผ่านไป ด้วยเหตุนี้
ความต้องการด้านการจัดเรียงระบบท่อประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงมีเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
สำหรับบทบาทในด้านการสนับสนุนภายในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศนั้น ฟูโซ่
อินดัสตรี้ส์ดำเนินการปรับปรุงตนเองอย่างไม่ย่อท้อด้วยการเรียนรู้ความรู้ต่างๆ
อย่างต่อเนื่องและเพิ่มความสามารถทางเทคนิคเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของลูกค้าในด้านค่าใช้จ่าย
การส่งมอบ และคุณภาพสินค้า
นอกจากนั้น
เรายังตั้งเป้าที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้นในธุรกิจของลูกค้าโดยการส่งข้อเสนอทางธุรกิจที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่
ซึ่งใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญที่เราได้รับจากกระบวนการผลิตในปริมาณไม่มากและมีความหลากหลายสูงของเรา
ต่อไปในอนาคต
ผมหวังเราจะยังคงยินดีในการสนับสนุนและคำแนะนำที่เราได้รับจากลูกค้าของเราต่อไป
ข้อมูลบริษัท
สาส์นจากประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ภาพรวมของบริษัท
ข้อมูลสรุป | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | บริษัท ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์ จำกัด |
ก่อตั้ง | กันยายน พ.ศ. 2506 |
ก่อตั้งในรูปบริษัท | 24 มิถุนายน พ.ศ.2514 |
ทุนจดทะเบียน | 33.8 ล้านเยน |
รายได้รวม | บริษัทในประเทศญี่ปุ่น 13 พันล้านเยน กลุ่มบริษัทในเครือทั้งหมด 37 พันล้านเยน(ปิดงบบัญชี เดือน มีนาคม พ.ศ2567) |
จำนวนพนักงาน | บริษัทในประเทศญี่ปุ่น 275 คน กลุ่มบริษัทในเครือทั้งหมด 1,658 คน(ณ 31 มีนาคม พ.ศ2567) |
โรงงานผลิตในประเทศ |
บริษัท ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์ จำกัด โรงงานสำนักงานใหญ่ (คันนาเบะ) โรงงานอิชิสึ โรงงานรินไค Tadaoka Iron Works Co., Ltd. Taiyo Industries Co., Ltd. |
โรงงานผลิตในต่างประเทศ |
บริษัท ซูโจวเย่เม่า เมทัลโปรดักส์ จำกัด บริษัท เซี่ยงไฮ้ นิจิเอ เมทัล จำกัด บริษัท เซี่ยงไฮ้ซิ้งซิ่น แอร์คอนดิชั่นเนอร์พาร์ทส์ จำกัด บริษัท ซูโจวทาดาโอกะ พรีซิชั่นอินดัสตรี้ส์ จำกัด FUSO Industries Slovakia s.r.o. Fuso Industries Thailand Co., Ltd. |
ที่อยู่บริษัท | 6-153-1 คันนาเบะ-โช, ซาไก-คุ, ซาไก-ชิ, โอซาก้า,รหัสไปรษณีย์ 590-0984 JAPAN |
โทรศัพท์ | +81-72-229-8158 |
โทรสาร | +81-72-227-0941 |
ธุรกิจหลัก | แปรรูปและประกอบชิ้นส่วนการจัดเรียงระบบท่อสารทำความเย็นสำหรับระบบเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ ผลิตระบบท่อและชิ้นส่วนสำหรับเครื่องทำน้ำร้อนระบบ EcoCute |
ลูกค้าสำคัญ | บริษัท ไดกิ้นอินดัสทรีส์ จำกัด/ไดกิ้นยุโรป/บริษัท ไดกิ้นเทรดดิ้ง จำกัด/บริษัท โอ.เค. คิไซ จำกัด/มิตซูบิชิอีเล็คทริค คอร์ปอเรชัน/บริษัท ยันม่าร์ จำกัด/รินไน คอร์ปอเรชัน/บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่อินดัสตรี่์ เทอร์มอลซิสเต็มส์ จำกัด/บริษัท ลิกซิล จำกัด |
ซัพพลายเออร์หลัก | บริษัท โคเบลโก้ แอนด์ แมทิเรียลส์ คอปเปอร์ ทิ้ว จำกัด (บริษัท เฮวะ คินโซคุ จำกัด)/บริษัท นุงวอน เมทัล อินดัสทรีส์ จำกัด/บริษัท หนิงโปจินเถียน คอปเปอร์ (กรุ๊ป) จำกัด |
คณะผู้บริหาร | |
---|---|
ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) | Jiro Kuno |
กรรมการผู้จัดการ(ผู้รับผิดชอบชาวจีน) | Hao Ye |
กรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ | Yuji Kawabata |
กรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ | Takahiro Yamada |
กรรมการภายนอก | Hiroshi Takada |
กรรมการบริษัท | Toshihiro Izumitani |
ผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัท | Isao Kuno |
ที่ปรึกษาบริษัท (เต็มเวลา) | Mitsuaki Eguchi |
ที่ปรึกษาบริษัท (สัญญาจ้างไม่เต็มเวลา) | Hideo Shigemura |
ประวัติบริษัท
กันยายน พ.ศ.2506 |
ก่อตั้ง Mori Shoten โดย Yoshiyuki Mori ประธานบริษัทคนแรก |
---|---|
มิถุนายน พ.ศ.2514 |
ก่อตั้งบริษัท โมริ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (Mori Industries Co., Ltd.) ดำเนินกิจการดัดขึ้นรูปท่อ |
ตุลาคม พ.ศ.2516 |
โรงงานแห่งใหม่สร้างเสร็จในที่ตั้งปัจจุบันของบริษัท และเงินทุนบริษัทเพิ่มเป็น 12 ล้านเยน |
ธันวาคม พ.ศ.2517 |
เงินทุนบริษัทเพิ่มเป็น 18 ล้านเยน |
ตุลาคม พ.ศ.2518 |
Osamu Ryuhan เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) |
ตุลาคม พ.ศ.2519 |
ชื่อทางการค้าของบริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัท ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์ จำกัด |
เมษายน พ.ศ.2520 |
โรงงานอิซุมิโอสึ (ซึ่งเป็นโรงงานดั้งเดิมของโรงงานคันนาเบะในปัจจุบัน) เปิดดำเนินการทางธุรกิจ |
พฤษภาคม พ.ศ.2521 |
Sambo Copper Alloy Co., Ltd. เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารของบริษัท |
มกราคม พ.ศ.2522 |
Kazuo Murakami เข้ารับตำแหน่งประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) |
ธันวาคม พ.ศ.2526 |
โรงงานอิซุมิโอสึย้ายมาตั้งในสถานที่ปัจจุบันในคันนาเบะ เมืองซาไก จังหวัดโอซาก้า และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานคันนาเบะ |
กรกฏาคม พ.ศ.2527 |
Seijiro Kuno เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) |
สิงหาคม พ.ศ.2531 |
โรงงานคันนาเบะขยายระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้ง |
มกราคม พ.ศ.2533 |
โรงงานคานาโอกะเปิดดำเนินการทางธุรกิจ |
มกราคม พ.ศ.2535 |
โรงงานคันนาเบะขยายระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้ง และมีการย้ายฝ่ายผลิตจากสำนักงานใหญ่และโรงงานหลักของบริษัทมายังโรงงานคันนาเบะ |
ธันวาคม พ.ศ.2536 |
โรงงานของสำนักงานใหญ่ขยายระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ และรวมเข้ากับโรงงานคานาโอกะ |
ตุลาคม พ.ศ.2537 |
F&S Thailand Co., Ltd. ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นบริษัทร่วมทุนกับ Sambo Copper Alloy Co., Ltd. |
ตุลาคม พ.ศ.2538 |
โรงงานคันนาเบะได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 |
มีนาคม พ.ศ.2539 |
Suzhou Yuemao Metal Products Co., Ltd. ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย
โดยเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัทของประเทศไต้หวัน ขายกิจการของบริษัท เอฟแอนด์เอส ประเทศไทย จำกัด (F&S THAILAND CO., LTD.) ให้กับบริษัท ซัมโบคอปเปอร์อัลลอย จำกัด (Sambo Copper Alloy Co., Ltd.) |
กันยายน พ.ศ.2543 |
Suzhou Yuemao Metal Products Co., Ltd. ย้ายที่ตั้งโรงงานไปยังเขตพัฒนาไท่ฉาง |
August พ.ศ.2544 |
เข้าซื้อหุ้นที่ถือครองโดยบริษัท ซัมโบคอปเปอร์อัลลอย จำกัด (Sambo Copper Alloy Co., Ltd.) |
พฤษภาคม พ.ศ.2545 |
เงินทุนบริษัทเพิ่มจาก 18 ล้านเยน เป็น 33.8 ล้านเยน |
มิถุนายน พ.ศ.2545 |
รับเงินลงทุน (หุ้น 30.8%) จากบริษัท ที่ปรึกษาการลงทุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำกัด (Small and Medium Business Investment & Consultation Co., Ltd.) |
ตุลาคม พ.ศ.2548 |
สำนักงานสาขาในสโลวาเกียเปิดดำเนินการทางธุรกิจ |
มีนาคม พ.ศ.2549 |
ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 |
เมษายน พ.ศ.2550 |
โรงงานรินไคในเขตชิกโกะชิน-มาชิ ในเมืองซาไก เปิดดำเนินการทางธุรกิจ |
มิถุนายน พ.ศ.2551 |
สำนักงานสาขาในสโลวาเกียขยายตัวโดยการซื้อที่ดินเพิ่ม |
มิถุนายน พ.ศ.2552 |
Jiro Kuno เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) |
กุมภาพันธ์ 2553 |
Suzhou Yuemao Metal Products Co., Ltd. ย้ายที่ตั้งโรงงานไปยังเขตพัฒนาเศรษฐกิจไท่ฉาง |
พฤศจิกายน 2556 |
ก่อตั้งบริษัท ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (ไทยแลนด์) (FUSO INDUSTRIES THAILAND CO., LTD.) ในประเทศไทย |
เมษายน พ.ศ.2557 |
จดทะเบียนสำนักงานสาขาสโลวาเกียเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฟูโซ่ อินดัสตรี้ส์ สโลวาเกีย จำกัด (FUSO INDUSTRIES Slovakia s.r.o.) |
พฤศจิกายน 2559 |
เข้าถือครอง 51% ของหุ้นใน SHANGHAI NICHIEI METALS Co., Ltd. เข้าถือหุ้นในบริษัท ไทโย อินดัสตรี้ส์ จำกัด (Taiyo Industries Co., Ltd.) ในสัดส่วนร้อยละ 65 |
กันยายน 2560 |
ขายหุ้นในบริษัท ไทโย อินดัสตรี้ส์ จำกัด (Taiyo Industries Co., Ltd.) จำนวนร้อยละ 16 ให้กับนายทาคาดะ ฮิโรชิ โดยยังคงถือครองหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 |
มกราคม 2562 |
เข้าถือหุ้นจำนวนร้อยละ 43 ที่ถือครองโดยบริษัท เซี่ยงไฮ้ซิ้งซิ่น แอร์คอนดิชั่นเนอร์พาร์ทส์ จำกัด (Shanghai Xingxin Air-Conditioner Parts Ltd.) เข้าถือหุ้นจำนวนร้อยละ 30 ที่ถือครองโดยบริษัท ซูโจวเย่เม่า เมทัลโปรดักส์ จำกัด (Suzhou Yuemao Metal Products Co., Ltd.) และจำนวนร้อยละ 27 ที่ถือครองโดยนายคุโนะ จิโร่ ทำให้ถือครองหุ้นทั้งหมดของบริษัท (100%) |
กรกฏาคม 2563 |
เข้าถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ทาดาโอกะ ไอออนเวิคส์ จำกัด (Tadaoka Iron Works Co., Ltd.) และแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทย่อย ส่งผลให้บริษัท ซูโจวทาดาโอกะ พรีซิชั่นอินดัสตรี้ส์ จำกัด (Suzhou Tadaoka Precision Industry Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ทาดาโอกะ ไอออนเวิคส์ จำกัด (Tadaoka Iron Works Co., Ltd.) ถูกควบรวมกิจการเข้ากับกลุ่มบริษัทในเครือด้วย |
กันยายน 2565 |
กันยายน พ.ศ.2565 เงินทุน 4ล้านยูโร , เพิ่มทุน1.5ล้านยูโรที่ FUSO INDUSTRIES Slovakia s.r.o. |
กุมภาพันธ์ 2566 |
เพิ่มทุนที่ บริษัท ฟูโซ่ อินดัสทรีส์ ไทยแลนด์ จำกัด จากจำนวน 114.7 ล้านบาท เป็น 218.2 ล้านบาท |
เมษายน 2566 |
"เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่จากโรงงานอิชิสึเป็นโรงงานจินนันเบะ" |
แผนผังองค์กร
ธุรกิจของแต่ละแผนก
ฝ่ายการผลิต (แผนก 1) |
---|
ผมมีหน้าที่หลักในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินและการทำไคเซ็นในทุกสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีการเพิ่มกำลังการผลิต ผมจะเข้าไปปฏิบัติงานในสายการผลิตเพื่อพิจารณาหาวิธีการแก้ไขและสั่งการด้วยตัวเอง ผมรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จเมื่อการรับมือกับเหตุฉุกเฉินหรือการทำไคเซ็นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ในทางกลับกัน ผมรู้สึกได้ว่ายังทุ่มเทแรงกายแรงใจไม่เพียงพอในเวลาที่ผมไม่สามารถสื่อสารความคิดของตัวเองออกไปได้อย่างที่ควรจะเป็น ฝ่ายการผลิต (แผนก 1) Y
|
ฝ่ายการผลิต (แผนก 3) |
---|
หน้าที่หลักของผมคือการขึ้นรูปท่อ เริ่มจากการถ่ายโอนข้อมูลแบบเขียนลงในเครื่องจักร จากนั้นวางท่อในตำแหน่งที่กำหนด แล้วเครื่องจักรจะทำการขึ้นรูปท่อเองโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังมีการตัดปลายท่อและการเจาะรูท่ออีกด้วย สำหรับผมแล้ว การได้ทำไคเซ็นเล็กๆ น้อยๆ หรือการคิดหาวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานที่ยากให้สามารถทำงานได้ง่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นความรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ลงมือทำ ฝ่ายการผลิต (แผนก 3) I
|
ฝ่ายการผลิต (แผนก 4) |
---|
ผมมีหน้าที่รับผิดชอบการบัดกรีแบบใช้แก๊สและการประกอบชิ้นส่วน ชิ้นส่วนบางชิ้นที่เราทำงานด้วยนั้นมีขนาดใหญ่มาก สูงเกือบเท่าตัวคนเลยทีเดียว ถือเป็นงานที่ค่อนข้างยาก แต่ก็ได้ความรู้สึกสนุกสนานเหมือนการประกอบโมเดลหุ่นพลาสติกที่ยากมากตัวหนึ่ง ตอนนี้ผมยังต้องทำงานภายใต้คำแนะนำของรุ่นพี่ แต่หวังไว้ว่าสักวันหนึ่งในอนาคต ผมจะสามารถควบคุมสายการผลิตสักสายหนึ่งได้ด้วยตัวของผมเอง ฝ่ายการผลิต (แผนก 4) K
|
ฝ่ายควบคุมคุณภาพ |
---|
ผมทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบและการรับประกันคุณภาพและความเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในการผลิต เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์อยู่หลากหลายชนิด จึงเป็นเรื่องยากในการตรวจสอบถึงความผิดพลาดและความบกพร่อง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมตรวจพบข้อบกพร่อง แล้วจัดการแก้ไขปัญหาจนสามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์ออกไปได้อย่างเรียบร้อยแล้ว ผมจะสัมผัสได้ถึง ""ความรู้สึกคุ้มค่า"" ที่ได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพของบริษัท ฝ่ายควบคุมคุณภาพ N
|
ฝ่ายวางแผนการผลิต |
---|
ฝ่ายวางแผนการผลิตแบ่งเป็นแผนกธุรกิจ แผนกจัดซื้อ และแผนกคอมพิวเตอร์ ผมมีหน้าที่รับผิดชอบการบำรุงรักษาระบบในปัจจุบันและพัฒนาระบบใหม่ในแผนกคอมพิวเตอร์ เป็นแผนกที่มีทั้งความสนุกสนานจากปฏิกิริยาตอบรับจากหน้างาน เช่น ""ใช้งานง่ายขึ้น"" หรือ ""ประสิทธิภาพดีขึ้น"" ที่เกิดจากการทำไคเซ็นระบบ และเป็นแผนกที่มีทั้งความยากลำบากเหมือนการพัฒนาระบบหลักที่ต้องใช้เวลานานหลายปี ฝ่ายวางแผนการผลิต แผนกคอมพิวเตอร์ U
|
ฝ่ายต่างประเทศ |
---|
แผนกนี้มีหน้าที่รับผิดชอบบริษัทในต่างประเทศเป็นหลัก (เฉพาะบริษัทที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 บริษัท)
งานหลักของผมคือการจัดการคำสั่งซื้อจากยุโรปและเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการค้า ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร และมีการเดินทางไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศด้วย ผมพยายามติดต่อสื่อสารอย่างสุภาพเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและความผิดพลาดอันเนื่องจากความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ฝ่ายต่างประเทศ M
|
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป |
---|
งานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบริษัท พนักงาน และการเงิน ถือเป็นงานของฝ่ายบริหารงานทั่วไป แผนกธุรการที่ผมประจำอยู่นี้มีหน้าที่หลักในการคัดเลือกพนักงาน การบริหารแรงงาน และจัดการกับเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ถือได้ว่าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทุกคน มีสถานการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายนอกเหนือจากงานประจำ ทำให้รู้สึกตื่นเต้นสนุกสนาน แต่ก็เป็นงานที่สร้างความกดดันได้ไม่น้อยเลย เพราะห้ามผิดพลาดในการทำงานจากการแก้ไขกฎหมายใหม่ เป็นต้น ฝ่ายบริหารงานทั่วไป K
|
ฝ่ายวางแผนองค์กร |
---|
แผนกนี้มีหน้าที่พิจารณา วางแผน และควบคุมแผนการบริหารจัดการตลอดจนงบประมาณทั้งรายปีและระยะกลางถึงระยะยาว สิ่งที่ยากคือรายละเอียดของงานนั้นเชื่อมโยงกับทุกส่วนงานของบริษัท จึงต้องการความรู้ที่ครอบคลุมตั้งแต่ด้านวิศวกรรมไปจนถึงการเงิน แต่อย่างไรก็ตาม หากมองอีกแง่หนึ่ง เราสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบและฟังก์ชั่นทั้งหมดของบริษัท และมันให้ความรู้สึกของความสำเร็จทุกครั้งที่ทำงานสำเร็จ ฝ่ายวางแผนองค์กร W
|